Q Mark - เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร
Q Mark
เป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัย พร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตาม มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
การรับรองเครื่องหมาย "Q" จะเป็นการรับรองตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย "Q" เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรอง หรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมาย "Q"
ประเภทการรับรองเครื่องหมาย Q
การรับรองเครื่องหมาย Q แบ่งประเภทการรับรองออกเป็นสองประเภทได้แก่
1. การรับรองสินค้า (Product Certification)
หมายถึงการตรวจสอบให้การรับรองสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished Product) โดยมีการสุ่มตัวอย่าง ทดสอบ และตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไปตาม มาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัย รวมทั้งตรวจประเมินระบบหรือกระบวนการผลิตด้วย
2. การรับรองระบบ
หมายถึงการตรวจประเมินให้การรับรองกระบวนการผลิตโดยคลอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้ตามมาตรฐาน
เช่น
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ การปฏิบัติทางประมงที่ดี (Good Agricultural Practice (GAP))
- เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
- การปฏิบัติที่ดี หรือ หลักเกณฑ์การปฏิบัติด้านสุขลักษณะ หรือ หลักเกณฑ์การปฏิบัติ :
หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (Good Manufactural Practice (GMP))
ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้ (Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP))
เรียบเรียงจากเว็บไซต์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 12 เมษายน 2562 11.59 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.acfs.go.th/qmark.php
http://www.acfs.go.th/qmark/qmark_certified_types.php
ซอฟต์แวร์ Traceability ของ SP2 สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการยื่นขอการรับรองเครื่องหมาย Q โดยสามารถจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ต้นทางของวัตถุดิบ ระหว่างกระบวนการผลิต จนกระทั่งผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และด้วยความสามารถของกระบวนการสอบย้อนกลับในระบบทำให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนกลับทั้งในรูปแบบ forward และ backward จากจุดที่ต้องการตรวจสอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ Traceability ของ SP2 ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน
สนใจข้อมูลระบบ Traceability ของ SP2 โปรดติดบริษัท SP Square Solutions Co., Ltd 086 398 5590 หรือที่ contactsp@sp2solutions.com
เป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือ เครื่องหมาย "Q" เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเครื่องหมายนี้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความปลอดภัย พร้อมทั้งยังสื่อไปถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตาม มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
การรับรองเครื่องหมาย "Q" จะเป็นการรับรองตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค (From Farm To Table) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย
นอกจากนี้ยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดงเครื่องหมาย "Q" เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรอง หรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของเครื่องหมาย "Q"
ประเภทการรับรองเครื่องหมาย Q
การรับรองเครื่องหมาย Q แบ่งประเภทการรับรองออกเป็นสองประเภทได้แก่
1. การรับรองสินค้า (Product Certification)
หมายถึงการตรวจสอบให้การรับรองสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished Product) โดยมีการสุ่มตัวอย่าง ทดสอบ และตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไปตาม มาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัย รวมทั้งตรวจประเมินระบบหรือกระบวนการผลิตด้วย
2. การรับรองระบบ
หมายถึงการตรวจประเมินให้การรับรองกระบวนการผลิตโดยคลอบคลุมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้ตามมาตรฐาน
เช่น
- การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ การปฏิบัติทางประมงที่ดี (Good Agricultural Practice (GAP))
- เกษตรอินทรีย์ (Organic Agriculture)
- การปฏิบัติที่ดี หรือ หลักเกณฑ์การปฏิบัติด้านสุขลักษณะ หรือ หลักเกณฑ์การปฏิบัติ :
หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (Good Manufactural Practice (GMP))
ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้ (Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP))
เรียบเรียงจากเว็บไซต์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 12 เมษายน 2562 11.59 น.
ข้อมูลเพิ่มเติม: http://www.acfs.go.th/qmark.php
http://www.acfs.go.th/qmark/qmark_certified_types.php
ซอฟต์แวร์ Traceability ของ SP2 สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการยื่นขอการรับรองเครื่องหมาย Q โดยสามารถจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ต้นทางของวัตถุดิบ ระหว่างกระบวนการผลิต จนกระทั่งผลิตออกมาเป็นสินค้าสำเร็จรูป และด้วยความสามารถของกระบวนการสอบย้อนกลับในระบบทำให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนกลับทั้งในรูปแบบ forward และ backward จากจุดที่ต้องการตรวจสอบได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ Traceability ของ SP2 ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่ปลอดภัยตามมาตรฐาน
สนใจข้อมูลระบบ Traceability ของ SP2 โปรดติดบริษัท SP Square Solutions Co., Ltd 086 398 5590 หรือที่ contactsp@sp2solutions.com
0 comments:
Post a Comment