Traceability ระบบตรวจสอบย้อนกลับ ไขความลับอาหารปลอดภัย โดย อุตสาหกรรมสาร

ที่มา / source : เอกสาร Innovation ของ อุตสาหกรรมสาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 
เรื่อง โดย กองบรรณธิการ

เอกสารมี 3 หน้ากระดาษ A4 กล่าวถึง การเริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีสิทธิในการบริโภคสินค้าและอาหารที่ปลอดภัย
โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้

Traceability มีประโยชน์อย่างไร (ขอหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาแสดงข้างล่างนี้เลย)

การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability คืออะไร

การตรวจสอบย้อนกลับ หรือ Traceability เป็นกลไกเพื่อติดตามที่มาของสินค้าตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผู้บริโภค ซึ่งในแต่ละขั้นตอนได้มีการรวบรวมข้อมูลการผลิตของตัวสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไป เพื่อติดตามที่มาของสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิตกระบวนการแปรรูป การขนส่ง จนถึงการกระจายผลิตภัณฑ์อาหารสู่ผู้บริโภค

ธุรกิจประเภทใดที่ควรต้องมี Traceability

ประเภทธุรกิจที่ควรจะใช้ระบบ Traceability มากที่สุดคือ ธุรกิจอาหาร เนื่องจากทุกๆ ปีการซื้อขายอาหารและส่วนประกอบของอาหารทั่วโลกมีมูลค่าถึง 450 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประมาณ อีกทั้งยังเป็นแหล่งงาน รายได้ อีกด้วย การขนส่งและกระบวนการแปรรูปส่วนประกอบอาหารและผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นนี้ เป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งแก่ผู้มีส่วนรับผิดชอบด้านอาหารปลอดภัยซึ่งความสามารถในการติดตามที่มาของส่วนประกอบอาหาร เป็นสิ่งจำเป็นทั้งต่อความปลอดภัยที่เพียงพอ และการรักษามาตรฐานของอาหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ผิดพลาด การตรวจสอบย้อนกลับเป็นการนำมาใช้เพื่อการส่งเสริมการมีมาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าที่ควรเป็น แท้ที่จริงแล้ว เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ตรวจสอบการขนส่งที่ซับซ้อนของผลิตภัณฑ์ช่วยผลักดันให้เกิดมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพของอาหารทั้งในระดับเดียวกันและที่สูงกว่า ผู้บริโภคจึงสามารถวางใจถึงประโยชน์โดยตรง ที่ได้รับจากการนำมาตรฐานความปลอดภัยทางด้านอาหารที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกมาใช้ในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง นอกเหนือจากระดับการรับรองขั้นพื้นฐานทั่วไปด้านความปลอดภัยและการปราศจากการปนเปื้อนแล้ว ประสิทธิภาพและระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ก็สามารถนำมาใช้ในการตรวจสอบ การปรับปรุง รวมไปถึงการรักษาคุณภาพของอาหารได้ โดยการใช้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่ได้จากระบบการตรวจสอบย้อนกลับ


ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่ http://library.dip.go.th

0 comments:

Post a Comment